วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

H T M L .

ความหมายและความเป็นมาของภาษา HTML

HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาหลักในการสร้างเว็บเพจ โดยมีแนวคิดจากการสร้างเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์    (Hypertext Document : ข้อความในเอกสารที่เชื่อมโยงถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้) ซึ่งพัฒนามาจากภาษา SGML  (Standard Generalized Markup Language)  โดย Tim Berners-Lee ใน ปี ค.ศ.1990 ซึ่งใช้ในระบบของ CERN (Conseil Europeen pour la Recherche Nucleaire) เบื้องต้นได้เริ่มใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์   จากนั้นก็ได้แพร่ขยายออกไป  ระบบนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า World Wide Web ( WWW ) ที่เรารู้จักกันมาจนถึงปัจจุบัน

ภาษา HTML ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างแพร่หลายจึงทำให้เกิดมาตรฐานในเวอร์ชั่นต่างๆ ดังนี้

HTML 1.0
เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1993 โดย Tim Berners-Lee และ Dave Raggett ได้กำหนดให้เอกสาร HTML ที่ได้พัฒนาขึ้นแม้จะเขียนมาตรฐานใด ๆ ก็ตาม ต้องสามารถอ่านได้
HTML 2.0
เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 โดย IETF  (Internet Engineering Task ForceX)   ซึ่งมุ่มหวังให้สามารถ เปิดแสดงผลกับบราวเซอร์ที่ใช้งานทั่วไปได้
HTML 3.0
เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ได้พัฒนา HTML  ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มการทำงานที่เกี่ยวกับตาราง  การปรับข้อความล้อมรอบภาพ และแสดงส่วนที่มีความสับซ้อนได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้เบราว์เซอร์ย้อนกลับไปดูเว็บเพจหน้าที่ผ่านมาหรือหน้าที่เคยเข้าชมมาก่อนหน้า ได้ดีกว่าเวอร์ชั่น  2.0 หรือที่ี่เรียกว่า Backward
HTML 3.2
เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการเพิ่มคำสั่งและคุณสมบัติต่าง ๆ ที่สามารถทำงานร่วมกับหลาย ๆ เบราว์เซอร์ได้มากขึ้น และมีชื่อเรียกโค้ดแบบนี้ว่า "Wibur"
HTML 4.0
เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1997 องค์กรกลางที่ชื่อว่า W3C (The World Wide Web Consortium) ได้มีการพัฒนาและดูแลมาตรฐานของภาษา  HTML เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี  WWW  ให้ล้ำหน้ายิ่งขึ้นโดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วย   Style Sheet , Frame ,  การฝั่งออบเจคต์ของโปรแกรมเสริมเพื่อแสดงภาพและเสียง การสร้างฟอร์ม และการใช้งานร่วมกับภาษา Script ต่าง ๆ
HTML 4.01
เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1997 มีการปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ  ให้ดีขึ้น หลังจาก HTML 4.01  องค์กร W3C ได้หยุดพัฒนา HTML โดยเปลี่ยนไปพัฒนาภาษามาตรฐานใหม่ที่ชื่อว่า  XHTML เพื่อใช้ใน การสร้างเว็บเพจ เพื่อจะขยายการใช้เว็บสู่อุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงให้เบราว์เซอร์ใช้งานโปรแกรมภาษา HTML ได้เช่นเดิม
XHTML
ก่อนที่จะมาถึง XHTML ทาง W3C ผู้พัฒนาเทคโนโลยี ได้พบข้อจำกัดของ HTML จึงได้สร้างภาษามาตรฐานใหม่ ชื่อว่า XML สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม  ต่อมาเมื่อมีความต้องการให้การเขียนเว็บเพจมีรูปแบบที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงได้รวบรวมคำสั่ง HTML 4.0 กับมาตรฐานของ XML เข้าไว้ด้วยกันเกิดเป็นภาษา HTML ที่มีกฎระเบียบมากยิ่งขึ้น และตั้งชื่อใหม่เป็น XHTML (Extensible HyperText Markup Language) คำสั่งต่าง ๆ ใน  XHTML ยังสามารถใช้คำสั่งในภาษา HTML 4.0 ได้ แต่มีการเพิ่มคำสั่งใหม่และการจัด ระเบียบการใช้คำสั่งให้มีความแน่นอนมากยิ่งขึ้น


ลักษณะของภาษา HTML

    องค์ประกอบของภาษา HTML สามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน คือ
         1.
ส่วนที่เป็นข้อความทั่ว ๆ ไป
         2.
ส่วนที่เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของข้อความที่แสดง ซึ่งเราเรียกคำสั่งเหล่านี้ว่า แท็ก (Tag) โดยแท็ก
            
หรือคำสั่ังของภาษา HTML จะอยู่ในเครื่องหมาย < > ซึ่งมีหลักในการเขียนดังนี้
หลักในการเขียนคำสั่งหรือแท็กในภาษา HTML
1.รูปแบบแท็กจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือแท็กเริ่มต้น เรียกว่า "แท็กเปิด" และส่วนจบของแท็ก เรียกว่า
   "
แท็กปิด" แท็กปิดจะต้องมีเครื่องหมาย Slash (/) ดังนี้

<
แท็กเปิด>ข้อความ......</แท็กปิดเช่น <title>ข้อความที่ต้องการให้ปรากฎในแถบหัวเรื่อง </title>
2.บางแท็กอาจไม่ต้องมีแท็กปิดก็สามารถใช้งานได้ เช่น คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่ <br>
3.เราสามารถพิมพ์ตัวอักษรเป็นตัวเล็ก หรือใหญ่ก็ได้ (เวอร์ชั่น 4.0 ขึ้นไป) เช่น <HTML>,<Html>,<html> จะมี
   
ความหมายเหมือนกัน แต่แนะนำให้ใช้ตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด เพื่อรองรับกับมาตรฐานของ XHTML ต่อไป
4.บางแท็กจะมีตัวกำหนดคุณสมบัติ ที่เรียกว่า แอตทริบิวท์ (Attribute) และมีค่าที่ถูกกำหนดให้ใช้ในแท็ก (Value)
   
โดยจะเขียนไว้หลังแท็ก เช่น

       <hr width=600 size=5>

               
แท็ก hr เป็นการกำหนดเส้นขั้นทางแนวนอน
               
แอททริบิวต์ width กำหนดคุณสมบัติความยาวของเส้น
               
แอททริบิวต์ size คือการกำหนดความหนาของเส้น
               
ค่าที่กำหนดให้ใช้ 600 เป็นค่าความยาวของเส้น
               
ค่าที่กำหนดให้ใช้ 5 คือเส้นมีความหนา 5 จุด (Pixel) 

 
โครงสร้างพื้นฐานของภาษา HTML มีดังนี้

โครงสร้างของภาษา HTML ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

        1. 
ส่วนที่กำหนดให้เว็บเบราว์เซอร์ทราบว่าเป็นแฟ้มข้อมูลชนิด HTML  ซึ่งจะมีแท็ก <html>…</html> กำกับอยู่ที่จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแฟ้มข้อมูล
       2. ส่วนหัวเรื่อง (Head) เป็นส่วนที่กำหนดให้แสดงข้อความที่แถบหัวเรื่องของหน้าเว็บเพจนั้น ๆ เช่น แท็ก <title>....</title> และเก็บแท็กพิเศษอื่น ๆ
       3. 
ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นส่วนที่แสดงเนื้อหาของเว็บเพจทั้งหมดซึ่งประกอบด้วย ข้อความและแท็กต่าง ๆ เช่น แท็กสำหรับจัดการกับรูปแบบของข้อความตาราง รูปภาพ กราฟิกต่างๆ สีของตัวอักษร สีพื้น เป็นต้น

 

ความหมายของคำสั่ง หรือแท็กต่างๆ ในโครงสร้างของภาษา HTML
(
ซึ่งต้องมีคำสั่งหรือแท็ก 4 ส่วนนี้เป็นหลักในเว็บเพจทุก ๆ หน้า)

<html>
.....
.....
</html>
หมายถึง แสดงถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของภาษา HTML
<head>
.....
.....
</head>
หมายถึง กำหนดรายละเอียดส่วนหัวเอกสาร HTML เช่น <title>......</title>
<title>...</title>
หมายถึง กำหนดชื่อเว็บเพจในแถบหัวเรื่อง หรือที่เรียกว่าไตเติ้ลบาร์ ของหน้าต่างเว็บเพจ
<body>
....
</body>
หมายถึง ส่วนที่มีไว้สำหรับให้ผู้เขียนเว็บเพจใส่คำสั่งหรือแท็กต่าง ๆ บางครั้งอาจเรียกว่า "โค้ด" (Code) เช่น คำสั่งแสดงรูปภาพ, การกำหนดสีตัวอักษร, การทำอักษรวิ่ง, การสร้างตาราง, การทำชุดเชื่อมโยง เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น